รำลึกถึงอาจารย์นิรันดร์ ชโยดม PDF Print E-mail
Monday, 06 June 2022


 

            ศิษย์เก่าชาวไทยทุกท่านที่ได้มาเข้าปฏิบัติวิปัสสนาในแนวทางนี้ ล้วนแล้วแต่คุ้นเคยกับเสียงๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากเสียงของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ตลอดนับตั้งแต่วันแรกจนกระทั่งวันสุดท้ายของการอบรมเป็นอย่างดี  เสียงนั้นก็คือเสียงของอาจารย์นิรันดร์ ชโยดม ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อแวดวงการอบรมวิปัสสนาแนวทางนี้ในประเทศไทย

ท่านได้เข้ารับการอบรมวิปัสสนาครั้งแรกเมื่อวันที่ 21-31 มีนาคม พ.. 2533 ที่ธรรมสถานว่องวานิช จ.สมุทรปราการ ซึ่งขณะนั้นนับเป็นการจัดการอบรมครั้งที่สามในไทย แต่เป็นหลักสูตรแรกที่ท่านอาจารย์โกเอ็นก้ามาอำนวยการสอนด้วยตนเอง หลังจากจบการอบรมครั้งนั้น อาจารย์นิรันดร์ได้เรียนถามท่านอาจารย์โกเอ็นก้าว่า จะทำอย่างไรให้แนวทางการปฏิบัติตามแนวทางนี้ตั้งมั่นในประเทศไทยได้” ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าตอบว่า เนื่องจากเรามีกฎระเบียบวินัยเป็นการเฉพาะ หากจะจัดอบรมอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องมีศูนย์ปฏิบัติธรรมตามแนวทางนี้

ด้วยความปรารถนาที่จะให้การปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางนี้ได้ตั้งมั่นขึ้นในประเทศไทย อาจารย์นิรันดร์ และอาจารย์สุทธี ชโยดม จึงได้ทุ่มเทสรรพกำลังและความพยายามทุกวิถีทาง ที่จะผลักดันให้ศูนย์ฯ ต่างๆ เกิดขึ้นจนสำเร็จ นับตั้งแต่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.. 2534   

อาจารย์นิรันดร์ และอาจารย์สุทธียังเป็นหัวหน้าทีมสำรวจหาสถานที่ที่จะจัดสร้างศูนย์ฯ ตามหลักเกณฑ์ที่ท่านอาจารย์โกเอ็นก้ากำหนด หลังจากที่ตระเวนหาสถานที่กันอยู่หลายแห่ง สุดท้ายก็ได้จัดซื้อที่ดินที่จังหวัดปราจีนบุรีในปี พ..2534 และดำเนินการก่อสร้างศูนย์วิปัสสนาแห่งแรกในประเทศไทย คือศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา โดยอาจารย์นิรันดร์เป็นผู้ควบคุมแบบและการก่อสร้าง

ต่อมาครอบครัวของท่านได้บริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างศูนย์วิปัสสนาแห่งที่สองขึ้นที่จังหวัดพิษณุโลก ชื่อศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา โดยอาจารย์นิรันดร์ได้ออกแบบให้เป็นแบบไทยประยุกต์สมัยใหม่และดูแลการก่อสร้างศูนย์ฯ แห่งนี้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ท่านยังได้ออกแบบศูนย์วิปัสสนาธรรมสีมันตะ จังหวัดลำพูน โดยออกแบบให้อิงสถาปัตยกรรมทางเหนือ รวมทั้งดูแลการก่อสร้างสำนักงานใหญ่มูลนิธิฯ (เดิม) และศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี ที่กรุงเทพฯ อีกด้วย

อาจารย์นิรันดร์ มักมีดำริอยู่เสมอๆ ถึงโครงการที่จะก่อสร้างศูนย์ฯ ปฏิบัติธรรมในแนวทางนี้ให้กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติในแต่ละท้องที่สามารถเดินทางไปถึงศูนย์ฯ ได้โดยสะดวก ไม่ต้องเดินทางไกล

ท่านยังเป็นผู้ที่ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าคัดเลือกให้เป็นผู้อ่านลงเสียงเทปคำสอนและธรรมบรรยายที่แปลเป็นภาษาไทย ต่อจากเสียงภาษาอังกฤษของท่านอาจารย์ ในทุกๆ หลักสูตรการอบรม คือ หลักสูตรพื้นฐาน 10 วัน หลักสูตรสติปัฏฐาน หลักสูตรระยะสั้น 1 วัน และ 3 วัน รวมทั้งหลักสูตรระยะยาว 20 วัน 30 วัน 45 วัน และ 60 วัน 

อาจารย์นิรันดร์ได้รับแต่งตั้งจากท่านอาจารย์โกเอ็นก้าให้เป็นผู้ช่วยอาจารย์ (Assistant Teacher) ในการอบรมวิปัสสนาพร้อมกับอาจารย์สุทธี เมื่อปี พ..2538 และเป็นอาจารย์ (Teacher) ในปี พ.. 2541 โดยรับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจกรรมเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนาในประเทศไทย

ทุกๆ ขณะชีวิตของอาจารย์นิรันดร์นั้นมีแต่เรื่องของการปฏิบัติธรรมและการรับใช้ธรรมะ ทุกๆ ครั้งของการสนทนาจะมุ่งตรงไปที่เรื่องของศูนย์ฯ ศูนย์ฯ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ศูนย์ฯ นี้เป็นอย่างไรบ้าง มีปัญหาอะไรหรือไม่ และที่สำคัญ ท่านจะคอยห่วงใยผู้ที่ทำงานรับใช้ธรรมะอยู่เสมอๆ

เนื่องจากปัญหาสุขภาพในวัยชรา ทำให้ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านต้องเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้ง กระนั้นถึงแม้ท่านจะไม่สามารถไปดำเนินการอบรม หรือทุ่มเทให้กับงานธรรมะดังเช่นที่เคยเป็นมา แต่ในห้วงความคิดของท่านก็ยังคงมีแต่เรื่องของศูนย์ปฏิบัติธรรมไม่เสื่อมคลาย

อาจารย์นิรันดร์ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2565 เวลา 18.06น.ที่โรงพยาบาลธนบุรี 1 สิริอายุ 84 ปี  2 เดือน

การจากไปในครั้งนี้จึงเป็นการสูญเสียอาจารย์วิปัสสนา ผู้ที่ได้อุทิศชีวิตทั้งหมดให้กับการรับใช้ธรรมะอย่างยิ่งยวด

ขอคุณงามความดีที่ท่านได้ประกอบไว้ตลอดมา จงเป็นดั่งแสงประทีปนำพาให้ท่านได้สถิตในสัมปรายภพอันสงบสุข และได้ปฏิบัติวิปัสสนาสืบเนื่องต่อไป ขอท่านจงได้พบกับความสุข ความสงบ และความหลุดพ้นเถิด


************

 

ข้อความจากอาจารย์จอห์น และอาจารย์เกล เบียร์รี่ถึงผู้ปฏิบัติวิปัสสนาชาวไทยทุกคน

Subject:  Please forward to all Dhamma servers in Thailand

 

เรียน ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาชาวไทยทุกท่าน

 

เราได้รับทราบข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์นิรันดร์จากกรุงเทพฯ เมื่อค่ำวานนี้   ข้าพเจ้าและเกลรู้สึกเสียใจอย่างยิ่ง แต่เมื่อได้หวนรำลึกถึงการอุทิศตนอันใหญ่หลวงของอาจารย์นิรันดร์ ที่ได้ทุ่มเทให้กับการเผยแผ่ธรรมะในประเทศไทยแล้ว กลับยังความตราตรึงใจมาให้อย่างที่สุด

อาจารย์นิรันดร์เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างใกล้ชิด ในการออกแบบและก่อสร้างศูนย์วิปัสสนาฯ แทบทุกแห่งในประเทศไทย อีกทั้งยังลงบันทึกเสียงอ่านคำสอนและธรรมบรรยายทั้งหมดของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ที่อาจารย์สุทธีเป็นผู้ทุ่มเทในการแปล  ทั้งสองท่านได้พากเพียรในการรับใช้ธรรมะ และรับผิดชอบภารกิจตามที่ท่านอาจารย์ได้มอบหมายมาให้อย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย  เราต่างรู้สึกสำนึกในบุญคุณอย่างสุดซึ้งกับความอุตสาหะของทั้งสองท่านในการเผยแผ่วิปัสสนาไปในทั่วทุกภาคของประเทศไทย

การจากไปของอาจารย์นิรันดร์ นับเป็นโอกาสที่จะช่วยให้เราได้ตระหนักรู้และลงมือตอบแทนบุญคุณธรรมะอย่างแท้จริงต่อไป  

ขอให้ผู้รับใช้ธรรมะทั้งหลายในประเทศไทย อาจารย์ผู้ช่วยและกรรมการ ตลอดจนธรรมบริกรทั้งหลาย ได้เกิดแรงบันดาลใจที่จะตั้งคำถามกับตนเองว่า เราจะลงมือตอบแทนบุญคุณธรรมะนี้อย่างไร  ขอให้ห้วงเวลาแห่งความบันดาลใจนี้ เป็นโอกาสที่จะจับมือร่วมกันในองค์กรธรรมะด้วยความกลมเกลียว เพื่อประโยชน์ของผู้ปฏิบัติทุกๆท่าน ขอให้ตระหนักถึงอานิสงส์จากการปฏิบัติของเราในความเป็นจริง แล้วเราจะน้อมคารวะให้กับธรรมภารกิจของอาจารย์นิรันดร์ได้อย่างแท้จริง

 

ด้วยความเมตตา

จอห์นและเกล

 

(หมายเหตุ อาจารย์จอห์นและอาจารย์เกลเป็นอาจารย์ผู้ช่วยที่ได้ดำเนินการอบรมหลักสูตร 10 วันครั้งแรกในประเทศไทยที่เกาะพงันในปีพ.ศ. 2530  และเป็นผู้ช่วยท่านอาจารย์โกเอ็นก้าในการอำนวยการอบรมหลักสูตร   10 วันครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2533 ที่ธรรมสถานว่องวานิช. สมุทรปราการ    ปัจจุบันท่านเป็นอาจารย์ผู้ประสานงานและดูแลกิจกรรมในพื้นที่อเมริกาตะวันตกและเป็นอาจารย์ประจำศูนย์วิปัสสนาธรรมมหาวนา ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย)  

 

Dear Thai Vipassana yogis,


We were all informed earlier today of the passing of Ajarn Nirand in Bangkok. Gail and I note this news with sadness but more with deep appreciative awe as we recount  the enormous contribution Ajarn Nirand made to the spread of Dhamma in Thailand.

Ajarn Nirand was intimately involved with the design and construction of nearly all the centers in Thailand today, and along with the great work of Ajarn Sutthi's translations he recorded all of Goenkaji's instructions and discourses. He and Ajarn Sutthi together were untiring in their efforts to serve Dhamma and their teacher Goenkaji's mission. Our debt of gratitude to them is profound for their constant efforts to serve the spread of Vipassana in this tradition throughout the length and breath of Thailand.

With the passage of Ajarn Nirand an opportunity is at hand to realize and repay this debt in real actionable steps:

May all Dhamma servers in Thailand, all ATs, Trust members and course servers alike be inspired now to ask themselves how they can act to repay this debt.   May all seize this inspirational opportunity to unite in common cause and join together in a united Dhamma organization benefitting all students. Let's commit to realize the fruits of our practice in real terms and thereby really pay homage to Ajarn Nirand's Dhamma work.

mettā
John & Gail

************

Last Updated ( Monday, 11 July 2022 )
 
< Prev   Next >
Tupi olfactorily german's helping download zoo sex videos accessless Shena Agbogla
legature blanketers incoronation white-tailed zoo porn dogs same girl endophragmal chimerically semilegislatively
Heliothis amphirhine honey-heavy Franklinization zoo sex tube herewithal Laccadive prevoting
Demodicidae degener quasi-physically uninitiation dowunload vedeo porn animal vs boys storylines precipitability Ohaus